วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2559

บัทึลัรี  รั้ที่ 2
วัน จันทร์ ที่ 5 กันยายน  2559

ความรู้ที่ได้รับ
         เริ่มการเรียนการสอนโดยทบทวนเพลงของอาทิตที่แล้ว และทำกิจกรรมแรกคือ
กิจกรรม มาชเมโล่ว ทาวเว่อร์


         อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คนแล้วแจกอุปกรณ์ คือ ดินน้ำมัน ไม้จิ้มฟัน และกระดาษ A4 ไว้รองดินน้ำมัน 1 แผ่น จับเวลา 5 นาที โดยรอบแรกอาจารย์ให้นักศึกษาเริ่มก่อตึกโดยไม่มีกติกา กำหนดเวลา 5 นาที   รอบที่่ 2 ให้ตกลงกันว่าจะทำอย่างไรตึกของกลุ่มตัวเองถึงจะสูงที่สุด และรอบสุดท้าย ให้ 1 คน คอยสั่งว่าต้องทำอย่างไรจากกิจกรรมจะทำให้เรารู้จักว่า เราเหมาะกับการทำงานในรูปไหน เป็นยทีม หรือ มีผู้นำ



 ต่อมาเริ่มเข้าสู่เนื้อหาวันนี้เรียนในหัวข้อ "การเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์"
       การเล่น  กระบวนการเรียนรู้ และประสบการณ์ที่เด็กได้รับทำให้เด็กเกิดความสนุกเพลิดเพลิน ผ่อนคลายปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนและสิ่งแวดล้อม 
       เพียเจท์  กล่าวถึงพัฒนาการการเล่นของเด็กว่ามี 3 ขั้น ดังนี้
1. ขั้นการเล่นโดยใช้ประสาทสัมผัส (Sensorimotor Play)
2. ขั้นการเล่นสร้างสรรค์ (Constructive Play)
3. ขั้นการเล่นที่ใช้สัญลักษณ์ (Symbolic Play)
       ประเภทของการเล่นเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
•การเล่นกลางแจ้ง
•การเล่นในร่ม
       การเล่นสรรค์สร้าง  
การเล่นที่ให้โอกาสเด็กคิดค้นวิธีเล่นอย่างอิสระ และเล่นได้หลายวิธี
•ใช้ความคิดพลิกแพลงวิธีเล่นให้แตกต่างไปจากเดิม
•เด็กเกิดความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง
      องค์ประกอบของการเล่นสรรค์สร้าง
1. สภาวะการเรียนรู้
     •เนื้อหาของสาระการให้ความรู้แก่เด็กโดยจัดสถานการณ์ให้เด็กเกิดการเรียนรู้
     •การเรียนรู้คุณลักษณะและความเหมือน
     •การเรียนรู้เกี่ยวกับการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งของและผู้อื่น
     •การเรียนรู้และจินตนาการเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
     •การเรียนรู้เหตุและผล
2. พัฒนาการของการรู้คิด
    ต้องจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก
3. กระบวนการเรียนและกระบวนการสอน
    •กระบวนการเรียนรู้
    •กระบวนการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้
กระบวนการจัดประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้
    •เปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องสับเปลี่ยน
    •การเรียนรู้เกี่ยวกับตรงกลาง
    •การจำแนกอย่างมีเหตุผล
หลักการจัดกิจกรรมการเล่นสรรค์สร้าง
    •ศึกษาสภาพของเด็กและกำหนดขอบข่ายความสามารถของเด็ก
    •ศึกษาสภาพแวดล้อม จัดเตรียมสื่อและกิจกรรมให้เหมาะสม
    •มีส่วนร่วมกับเด็กในจังหวะเวลาที่เหมาะสม
    •มีการสรุปท้ายกิจกรรม
        ต่อมาอาจารย์ให้แบ่งกลุ่มตามเดิม ทำกิจกรรม เรือน้อยบรรทุกของ โดยมีอุปกรณ์ คือกระดาษ
 A4 1 แผ่น หนังยาง 3 เส้น และ หลอด 3 อัน  โดยให้แต่ละกลุ่มช่วนกันออกแบบเรือของตัวเองเพื่อที่
จะบรรทุกของให้ได้มากที่สุด



     ต่อมาอาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มช่วยกันออกแบบชุดที่ทำมาจากกระดาษหนังสือพมพ์ เพื่อฝึก
ความคิดสร้างสรรค์





ประเมินตนเอง
     ตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม 
ประเมินเพื่อน 
    เพื่อนๆตั้งใจเรียน และร่วมกันทำกิจกรรมด้วยความสามามัคคี และทำผลงานออกมาได้ดีทุกกลุ่ม
ประเมินอาจารย์
    อาจารย์สอนสนุกและมีการสอนที่แปลกใหม่หลากหลายมากยิ่งขึ้น




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น